assignment2

1.จงอธิบายการทำงานของ Internet

การทำงานของอินเทอร์เน็ต

         การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือInternet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย

โดเมนเนม (Domain name system :DNS)

เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข

โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ

.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ

.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา

.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ

.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร

.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร

การขอจดทะเบียนโดเมน

การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ ชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิม เราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เราจะเข้าไปจดทะเบียน

การขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ

1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ www.internic.net

2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ www.thnic.net

โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย

ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย

.co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย

.go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล

.net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย

.or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร

.in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)

1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection)

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน (Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเทอร์เน็ตได้ ดังรูป

image002

องค์ประกอบของการใช้อินเทอร์เน็ตรายบุคคล

1. โทรศัพท์

2. เครื่องคอมพิวเตอร์

3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน

4. โมเด็ม (Modem)

โมเด็ม คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณในคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital) แต่สัญญาณเสียงในระบบโทรศัพท์เป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) ดังนั้นเมื่อต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องใช้โมเด็มเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อกตามสายโทรศัพท์ และแปลงกลับจากสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อถึงปลายทาง

ความเร็วของโมเด็มมีหน่วยเป็น บิตต่อวินาที (bit per second : bps) หมายความว่า ในหนึ่งวินาที จะมีข้อมูลถูกส่งออกไป หรือรับเข้ามากี่บิต เช่น โมเด็มที่มีความเร็ว 56 Kpbs จะสามารถ รับ-ส่งข้อมูลได้ 56 กิโลบิตในหนึ่งวินาที

โมเด็มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ

         – โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External modem)

เป็นโมเด็มที่ติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ภายนอก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก เพราะในปัจจุบันการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะผ่าน USB พอร์ต (Universal Serial Bus) ซึ่งเป็นพอร์ตที่นิยมใช้กันมาก ราคาของโมเด็มภายนอกไม่สูงมากนัก แต่จะยังมีราคาสูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน รูปที่ 6.3 แสดงโมเด็มภายนอก

         – โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal modem)

เป็นโมเด็มที่เป็นการ์ดคอมพิวเตอร์ที่ต้องติดตั้งเข้าไปกับแผงวงจรหลักหรือเมนบอร์ด (main board) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มประเภทนี้จะมีราคาถูกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก เวลาติดตั้งต้องอาศัยความชำนาญในการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งไปกับแผงวงจรหลัก

         – โมเด็มสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note Book Computer) อาจเรียกสั้นๆว่า PCMCIA modem

2. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection)

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ (Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

image006

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet)

1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCT

เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็ม ชนิด PCMCIA ของ PCT ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้

2. การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)

1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language) ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบใน www โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเทอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง

2. GPRS (General Packet Radio Service) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย

3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMA นั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbps ซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง 56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย

4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 – 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สายบลูธูทเพื่อใช้ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี

3. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ก(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS

โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือ Palm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็นInternet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

3. Home Network หมายถึงอะไร และมีวิธีการทำอย่างไร

 Home Network(ระบบเครือข่ายภายในบ้าน)
เครือข่ายในบ้าน หรือ Home Network ก็คือเครือข่ายที่เชื่อมโยงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในบ้านเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง พรินเตอร์ ปาล์มหรือ พ็อคเก็ตพีซี โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สำหรับแชร์อินเตอร์เน็ตเป็นต้น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านี้ในปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้แทบจะกลายเป็นอุปกรณ์ภายในบ้านที่พบเห็นทั่วไปแล้ว สังเกตได้จากตามห้างสรรพสินค้าที่นำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาวางขายกันถ้วนหน้า จำนวนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในบ้านหลังหนึ่งก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนสมาชิกในครอบครัว จากข้อมูลของบริษัท IDC (International Data Corporation) ที่เคยสำรวจมาก่อนหน้านี้พบว่า ประมาณ 50% ของครอบครัวในอเมริกาต่างมีคอมพิวเตอร์ในบ้านกันและแนวโน้มของการที่ในแต่ละครัวเรือนจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่องและประมาณการกันว่าในปี2004จะมีครอบครัวที่ติดตั้งเครือข่ายภายในบ้านกว่า60%ของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
การทีเอาสถิติเหล่านี้มาแสดงเพื่อชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มของการติดตั้งเครือข่ายภายในบ้านเป็นสิ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ นอกจากนี้ ผู้ผลิตเทคโนโลยีต่างๆในทางระบบเครือข่ายและซอฟต์แวร์ก็ได้ เล็งเห็นและผลิตผลิตภัณฑ์ที่จะเอื้ออำนวยในการติดตั้งเครือข่ายภายในบ้านมากขึ้น เช่น Windows XP Home Edition
สาเหตุที่ทำให้จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นก็คือราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกลงและมีการพัฒนาทางด้านอุปกรณ์ทำให้มีประสิทธิ์ภาพของเครื่องสูงขึ้นทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พึ่งซื้อไปไม่นานล้าสมัยและโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนั้นมีความต้องการเครื่องที่มีเสปค ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องสูงทำให้ผู้ใช้งานหรือผู้บริโภคต้องซื้อหรืออัพเกรดเครื่องบ่อยๆทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในบ้านคุณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้เทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นง่ายต่อการใช้งานเข้าถึงสมาชิกในครอบครัวทุกเพศทุกวัยซึ่งการต่อเครือข่ายภายในบ้านนั้นทำให้สามารถใช้ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้อย่างทั่วถึงมีประโยชน์ ตอบสนองความต้องการได้เต็มที่
                    สรุปวัตถุประสงค์ความต้องการในการสร้างเครือข่ายภายในบ้านเป็นข้อๆดังนี้
1.แชร์พรินเตอร์
2.แชร์ไฟล์
3.แชร์อุปกรณ์อื่นๆ
4.แชร์อินเตอร์เน็ต
5.เล่นเกมผ่านเครือข่าย

homeplug-av-network-of-3-adapters

4. 3G และ ADSL มีความแตกต่างกันอย่างไร

        ระบบ 3G คือ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่สาม (Third Generation of Mobile Telephone – 3G) ซึ่งมี สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (International Telecommunication Union) ซึ่งเป็นองค์กรชำนาญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำตลอดจนวางหลักเกณฑ์ในบริหาร และการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้กับประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิกทั่วโลก โดยมีแนวทางในการวางหลักเกณฑ์ทางการบริหารทรัพยากรด้านโทรคมนาคมของแต่ละประเทศสมาชิก เพื่อให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน

ทั้งนี้ 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ซึ่งยังมีข้อจำกัดอยู่มากในด้านความรวดเร็วและคุณภาพของข้อมูลที่ทำการส่ง โดยการพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการแบบมัลติมีเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ทำให้มีการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลตลอดจนแอพพลิเคชั่นต่างๆดีขึ้น รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้บริการมัลติมีเดียได้สมบูรณ์แบบมากขึ้น โดยผ่านอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ และ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

ADSL ย่อมาจาก Asynchronous Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีโมเด็มแบบใหม่ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงคู่สายโทรศัพท์ที่เป็นแบบสายคู่ตีเกลียวที่มีอยู่เดิม ให้กลายเป็นเส้นทางเข้าถึงมัลติมีเดียและการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ โดย ADSL สามารถสื่อสารด้วยความเร็วกว่า 6 Mbps ไปยังผู้ใช้บริการ และได้เร็วถึงกว่า 640 Kbps ในสองทิศทาง ซึ่งอัตราความเร็วดังกล่าว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจุของสายโทรศัพท์แบบเดิมได้กว่า 50 โดยไม่ต้องลงทุนวางสายเคเบิลใหม่

ADSL สามารถแปลงโครงข่ายข้อมูลข่าวสารพื้นฐาน ที่มีอยู่จากที่เคยจำกัดเพียงการให้บริการด้านเสียง ข้อความ และกราฟิกที่มีรายละเอียดไม่มากนัก ให้กลายเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ได้กับมัลติมีเดีย รวมทั้งการส่งภาพเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์แบบไปยังบ้านเรือนต่าง ๆ ในทศวรรษนี้ได้อย่างแพร่หลายทั่วไป

ADSL จะก้าวเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในอีกสิบกว่าปีข้างหน้านี้ เมื่อบรรดาบริษัทโทรศัพท์ต่าง ๆ พากันเข้าสู่ตลาดใหม่ทางด้านการส่งข้าวสารข้อมูล ในรูปของภาพและมัลติมีเดียกันมากขึ้น การวางสายเคเบิลเพื่อรองรับการส่งแบนด์กว้าง (Broadband) ใหม่คงต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ลูกค้าตามเป้า ทว่าความสำเร็จของบริการใหม่เหล่านี้ยังคงต้องอาศัยการทำตลาด ประชาสัมพันธ์ถึงกลุ่มเป้าหมาย ที่จะเป็นผู้ใช้บริการค่อนข้างมาก และใช้เวลานาน 2-3 ปีการนำเสนอรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ตัวอย่างวิดีโอที่มีให้เลือกดู รีโมท ซีดีรอม Corporate LAN และอินเทอร์เน็ต จนถึงประตูบ้านเรือนและสำนักงานขนาดเล็กนี้ ADSL สามารถที่จะทำให้ตลาดเหล่านี้เป็นจริงขึ้นมาได้ และเป็นประโยชน์แก่บริษัทโทรศัพท์ต่าง ๆ ตลอดจนผู้ให้บริการที่เกี่ยวเนื่องด้วย

ความสามารถของ ADSL

                 วงจร ADSL เกิดขึ้นด้วยการต่อ ADSL modem เข้าที่ปลายแต่ละด้านของคู่สายโทรศัพท์ที่เป็นสายคู่ตีเกลียว ทำให้เกิดเป็นช่องสื่อสารข้อมูล (Information channel) ขึ้น 3 ช่อง คือช่องสำหรับดาวน์สตรีม (Downstream) ความเร็วสูง ช่องส่งดูเพล็กซ์ (Duplex) ความเร็วปานกลาง และช่องสำหรับให้บริการโทรศัพท์แบบเดิม (POTS) ทั้งนี้ช่องบริการโทรศัพท์แบบเดิมจะถูกแยกออกจากดิจิตอลโมเด็มด้วยฟิลเตอร์ จึงมั่นใจได้ว่า การสนทนาทางโทรศัพท์ตามปกติ จะไม่มีการถูกตัดหรือกระทบกระเทือนแต่อย่างใด แม้อุปกรณ์ ADSL จะมีปัญหาหรือขัดข้อง

อนึ่ง ช่องความเร็วสูงนั้นมีอัตราความเร็วตั้งแต่ 1.5-6.1 Mbps ในขณะที่การสื่อสารข้อมูลแบบดูเพล็กซ์อยู่ในช่วงตั้งแต่ 16-40 Kbps และแต่ละช่องสัญญาณสามารถที่จะทำการ submultiplex ให้เป็นช่องสำหรับการส่งด้วยอัตราความเร็วต่ำ ๆ ได้หลาย ๆ ช่อง

ADSL modem รองรับการสื่อสารข้อมูลในอัตราเดียวกันกับ digital hierachies ของอเมริกาเหนือและยุโรป (ดูตารางที่ 1) ผู้ใช้บริการสามารถเลือกซื้อบริการที่อัตราความเร็ว และความสามารถต่าง ๆ ได้ตามต้องการ ทั้งนี้ ADSL รูปแบบต่ำสุดให้ดาวน์สตรีมได้ 1.5 หรือ 2.0 Mbps และช่องดูเพล็กซ์ 16 Kbps อีกหนึ่งช่อง ส่วนรูปแบบอื่น ๆ ให้บริการได้ในอัตรา 6.1 Mbps และ 64 Kbps ดูเพล็กซ์
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ ADSL ที่สามารถให้ดาวน์สตรีมได้สูงถึง 8 Mbps และดูเพล็กซ์ที่อัตราสูงถึง 640 Kbps จำหน่ายในท้องตลาด โดย ADSL modem ใช้ได้กับ ATM Transport ที่มีอัตราความเร็วเปลี่ยนแปลงได้และชดเชย ATM overhead ได้ดีพอ ๆ กับ IP Protocol   สำหรับอัตราความเร็วดาวน์สตรีมนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เป็นต้นว่าความยาวของสายทองแดง ขนาดของสายที่ใช้ จำนวนของบริดจ์แทร็พ (bridged trap) และ cross-coupled interface ทั้งนี้การลดทอนในทางสายจะเพิ่มขึ้นตามความยาวของสายและความถี่ และลดลงเมื่อเส้นผ่าศูนย์กลางของสายลดลง ซึ่งหากไม่พิจารณาถึงบริดจ์แทร็พแล้ว ADSL จะช่วยให้สามารถสื่อสารข้อมูลได้

ค่าที่วัดได้ของแต่ละบริษัทโทรศัพท์นั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปจากนี้ได้ แต่สมรรถนะขนาดนี้ก็สามารถครอบคลุมการใช้งานได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ของ loop plant ที่ใช้แล้ว ขึ้นอยู่กับอัตราความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ต้องการ อย่างไรก็ดีผู้ใช้บริการที่อยู่ในระยะทางดังกล่าวนี้ ยังคงอยู่ในวิสัยที่ให้บริการได้ด้วยระบบสื่อสารข้อมูลแบบดิจิตอล (digital loop carriers) หรือ DLC ที่ใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง แต่เมื่อมีการนำระบบ DLC ที่ใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง แต่เมื่อมีการนำระบบ DLC มาใช้งานในเชิงพาณิชย์แล้ว บริษัทโทรศัพท์สามารถที่จะสนองความต้องการ ในการใช้งานได้ในเวลาค่อนข้างสั้นจากการที่เราใช้ประโยชน์จาก ADSL ได้สารพัดอย่าง จึงพอมองเห็นช่องทางที่จะนำ ADSL ไปใช้ในงานเกี่ยวกับวิดีโอที่บีบอัดสัญญาณแบบดิจิตอล (digital compressed video) ทว่าจากการที่สัญญาณเป็นแบบ real time ดิจิตอลวิดีโอจึงไม่สามารถใช้วิธีการควบคุม level error ของ link หรือโครงข่ายแบบที่มักพบใช้กันในระบบสื่อสารข้อมูลทั่ว ๆ ไปได้ เพราะฉะนั้นจึงนำ ADSL modem มาใช้งานร่วมกับ forward error correction บางแบบ เพื่อลดการผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ จากการคัพเพิลสัญญาณรบกวนอย่างต่อเนื่องเข้าไปในทางสาย

เทคโนโลยี ADSL

ADSL เป็นกระบวนการจัดการกับสัญญาณแบบดิจิตอลขั้นสูง และทำการบีบข้อมูล เพื่อส่งผ่านคู่สายโทรศัพท์ที่เป็นสายคู่ตีเกลียวไปยังปลายทาง นอกจากนี้ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ในส่วนของทรานสฟอร์มเมอร์ อะนาล็อก ฟิลเตอร์ และ A/D Converter โดยทางสายโทรศัพท์ที่มีความยาวมาก ๆ นั้นอาจลดทอนสัญญาณที่ 1 MHz (ซึ่งอยู่นอกแบนด์ที่ ADSL ใช้) มากถึง 90 เดซิเบล ซึ่งผลักดันให้ส่วนที่เป็นอะนาล็อกของ ADSL modem ต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อที่จะให้ใช้งานได้ในแถบความถี่ที่กว้างมาก สามารถแยกช่องสัญญาณ และมีตัวเลขของสัญญาณรบกวนต่ำ หากมองผิวเผินภายนอกแล้ว ADSL มีลักษณะคล้าย ๆ กับเป็นท่อส่งข้อมูล ซิงโครไนซ์ที่มีอัตราความเร็วขนาดต่าง ๆ ไปบนคู่สายโทรศัพท์ธรรมดา แต่เมื่อมองภายในที่มีการใช้ทรานซิสเตอร์ทำงานแล้ว เป็นเรื่องประหลาดที่มักเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปได้

ในกรณีที่ต้องการให้เกิดเป็นช่องสื่อสัญญาณได้หลาย ๆ ช่องนั้น ADSL modem จะทำการแบ่งแถบความถี่ที่ใช้งานของคู่สายโทรศัพท์ออกไปอีก 1 ช่อง มี 2 แบนด์ คือเป็น FDM (Frequency Division Multiplexing) หรือ Echo Cancellation โดย FDM กำหนดให้ใช้แบนด์หนึ่งสำหรับอัพสตรีมข้อมูล และอีกแบนด์หนึ่งสำหรับดาวน์สตรีมจะถูกแบ่งด้วยวิธีการของ TDM (Time Division Multiplexing) เป็นช่องความเร็วสูง 1 ช่อง (หรือมากกว่า) และช่องความเร็วต่ำอีก 1 ช่อง (หรือมากกว่า) ส่วนกรณีของอัพสตรีมจะถูกมัลติเพล็กซ์เข้ากับช่องความเร็วต่ำที่สัมพันธ์กัน สำหรับ Echo Cancellation จะกำหนดให้แบนด์อัพสตรีมเกิดการเหลี่ยมกับของดาวน์สตรีม และแยกทั้งสองออกจากกันด้วย local echo cancellation ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งที่คุ้นเคยกันดีในโมเด็ม V.32 และ V.34 ส่วนเทคนิคอื่น ๆ นั้น ADSL จะแยกย่านความถี่ 4 KHz ไว้สำหรับใช้กับบริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ปลาย DC ของแบนด์

ADSL ขณะทำการรวบรวม data stream ที่เกิดจากการมัลติเพล็กซ์ช่องดาวน์สตรีม ช่องดูเพล็กซ์ และช่องบำรุงรักษาเข้าเป็นบล็อก ๆ และใส่รหัส Error Correction เข้าแต่ละบล็อก จากนั้นทางด้านรับจะทำการแก้ไขความผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงของการสื่อสัญญาณให้อยู่ในระดับที่รับรู้ได้ด้วยรหัส และความยาวของบล็อก นอกจากนี้มันยังอาจจะสร้างบล็อกพิเศษอีก ด้วยการสอด (interleave) ข้อมูลเข้าไปภายในบล็อกย่อย (subblock) ซึ่งทำให้ภาครับสามารถแก้ไขความผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เป็นผลทำให้การส่งสัญญาณข้อมูลและภาพเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพพอ ๆ กัน

มาตรฐาน ADSL และสมาคมที่เกี่ยวข้อง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มทำงาน T1E1.4 ของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (ANSI) ได้ให้การรับรองมาตรฐาน ADSL ที่อัตราความเร็วสูงถึง 6.1 Mbps แล้ว (มาตรฐาน ANSI T1.413) ทางด้านสถาบันมาตรฐานทางเทคนิคแห่งยุโรป (ETSI) ก็ได้ช่วยในการจัดทำภาคผนวกให้กับ T1.413 ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความต้องการของประเทศทางยุโรป ปัจจุบัน T1.413 ได้สรุปเรื่องของอินเทอร์เฟส เทอร์มินัลเดียวทางด้านผู้ใช้บริการแล้ว ส่วน Issue II (ซึ่งกลุ่ม T1E1.4 กำลังศึกษา) จะมีการขยายมาตรฐานออกไป เพื่อรวมถึงการอินเทอร์เฟสที่มีการมัลติเพล็กซ์กันทางปลายด้านผู้ใช้บริการ โปรโตคอลสำหรับรูปแบบและการบริหารโครงข่าย และการปรับปรุงด้านอื่น ๆ ด้วย

สมาคม ATM (ATM Forum) และ DAVIC ก็ให้การรับรองว่า ADSL เป็นโปรโตคอลสื่อสารใน physical layer สำหรับคู่สายตีเกลียวที่ไม่มีชีลด์ สมาคม ADSL (ADSL Forum) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2537 เพื่อส่งเสริมแนวความคิดของ ADSL และช่วยในการพัฒนาโครงสร้างของระบบ ADSL โปรโตคอลและอินเทอร์เฟสสำหรับการใช้ของ ADSL ที่สำคัญ ๆ ปัจจุบันสมาคมมีสมาชิกกว่า 200 ราย จากบรรดาผู้ให้บริการ (SP) ผู้ผลิตอุปกรณ์ และบริษัทเซมิคอนดัคเตอร์ จากทั่วทุกมุมโลก

อินเตอร์เน็ตบ้านจะใช้งาน ต่างรูปแบบกับ 3G โดย ADSL ใช้ได้เต็มสปีดไม่จำกัดปริมาณข้อมูล และความเร็วเสถียรที่กว่า 3G ทุกเครือข่าย แพ็คเกจ UNLIMITED จะมีนโยบายข้อหนึ่งที่เหมือนกัน คือ ใช้ได้ไม่จำกัด แต่จะใช้งานที่ความเร็วสูงสุด อยู่ที่ข้อมูลระดับหนึ่งเช่น AIS 3G หรือTRUE 3G จะใช้ที่ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 3GB. ถ้าเกิน 3GB. ขึ้นไป จะถูกลดสปีดลงมาโดย TRUE เหลืออยู่ที่ 256 kbps.ถ้าเป็น AIS จำกัดไว้ที่ 384 kbps.เรียกว่า fair usage policy เพื่อป้องกันคนเอาไปใช้งานผิดประเภทเช่นโหลดบิท โหลดเพลง ฯลฯ อีกอย่าง ถึงจะเคลมไว้ที่ความเร็วสูงสุด21 Mbps แต่เมื่อใช้งานจริง ก็จะไม่เกิน 12 Mbps โดยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น smart phone ก็จะมีไม่กี่รุ่น ที่สามารถรองรับได้ที่ความเร็วนี้ได้ อย่าง iPhone4 เองก็สามารถรองรับได้ที่ 7.2 Mbps. เท่านั้น

5. IPv6, Cloud Computing Software Development, และ WebRTC
มีลักษณะอย่างไรมีผลกระทบกับธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างไร

  • IPv6

ย่อมาจาก “Internet Protocol Version 6″ ซึ่งจะเป็น Internet protocol รุ่นต่อไป  เพื่อที่จะนำมาใช้แทน Internet Protocol รุ่นปัจจุบันคือ IP Version 4 (“IPv4″)
IPv6 (Internet Protocol version 6) เป็นเวอร์ชันล่าสุดของ Internet Protocol และได้รวมผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุน IP มาเป็นส่วนหนึ่งด้วย รวมถึงระบบปฏิบัติการหลัก IPv6 ได้รับการเรียกว่า “IPng” (IP Next Generation) โดยปกติ IPv6 เป็นกลุ่มของข้อกำหนดจาก Internet Engineering Task Force (IETF) โดย IPv6 ได้รับการออกแบบให้ปฏิรูปกลุ่มของการปรับปรุง IP เวอร์ชัน 4 โดย host ของเครือข่ายและ node แบบ intermediate ซึ่ง IPv4 หรือ IPv6 สามารถดูแลแพ็คเกตของ IP เวอร์ชันอื่น ผู้ใช้และผู้ให้บริการสามารถปรับรุ่นเป็น IPv6 โดยอิสระการปรับปรุงที่ชัดเจนของ IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 การขยายดังกล่าวเพื่อรองรับการขยายของอินเตอร์เน็ต และเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนของตำแหน่งเครือข่าย

  • Cloud computing

เป็นหลักการที่อธิบายถึงการที่ทรัพยากรทางด้านคอมพิวเตอร์ (computational resources) อาทิ หน่วยความจำ หน่วยประมวลผล ข้อมูล และแอปพลิเคชั่นต่างๆ ถูกนำมาเสนอให้แก่ผู้ใช้ในลักษณะของบริการ (services) บนอินเตอร์เนต ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้ บริการต่างๆเหล่านี้ได้ทั้งทางโทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ เครื่อง laptop หรือแม้แต่ จากเครื่องเล่นเกมส์ต่างๆ

  • WebRTC

ชื่อเต็มคือ Web Real-Time Communication เป็น javascript api ใหม่ที่สามารถทำให้คุยแบบเห็นหน้า ได้ยินเสียง และแชร์ไฟล์หากันแบบ P2P ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเสริมใดๆ โดย Google ได้นำเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์มาเป็น OpenSource Project ของโครงการ WebRTC ไปแล้ว ซึ่งโครงการ WebRTC คือการสร้าง API มาตรฐานสำหรับการดึงไมโครโฟนและเว็บแคมของคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทำให้เว็บสามารถดึงภาพและเสียงจากเครื่องแล้วส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้ ตามเวลาจริง ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างห้องแชตวิดีโอโดยไม่ต้องการปลั๊กอินใดๆ เพิ่มเติม ต่างไปจากทุกวันนี้ที่ Google Talk, และ Hangout ของกูเกิล ยังคงต้องการปลั๊กอิน Google Talk แยกออกมาเพื่อทำงาน

 อ้างอิง

http://mblog.manager.co.th/vilawan050/cxIPv6/

http://inetbangkok.in.th/?p=918

http://www.ecti-thailand.org/emagazine/views/63

http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2006-2/Assignment-02/BPA_29_08_2/page_4.htm

http://www.kmitl.ac.th/~kpteeraw/learning/home_net_2.pdf

Leave a comment